[vc_row][vc_column][vc_column_text]
ทาง ฮัมมิ่งเบิร์ด แอร์ เลือกใช้ 2-Stage Vacuum Pump เท่านั้นที่จะให้ประสิทธิภาพดีที่สุด
ท่านทราบหรือไม่ว่า เครื่องปรับอากาศที่ได้เบอร์ 5 มาจากโรงงานนั้นเป็นกันทดสอบกันตามเงื่อนไขของ สมอ (สถาบันมาตรฐานอุตสาหกรรม) แต่เมื่อเราซื้อมาติดตั้งที่บ้าน การที่จะให้ประหยัดไฟเบอร์ 5 ตามเงื่อนไขที่ทดลองกับ สมอ นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง หลักๆก็คือ ทักษะของช่างที่ติดตั้ง และก็ เครื่องมือที่ช่างแอร์ใช้ในการติดตั้ง ถ้าติดตั้งไม่ดีเครื่องปรับอากาศที่ว่าเบอร์ 5 นั้น อาจจะเหลือเบอร์ 4 หรือ 3 ก็ได้ครับ บทความนี้จะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเครื่องมือแต่ละชิ้นที่ช่างแอร์ใช้ในการติดตั้งครับ
Vacuum Pump
การทำสูญญากาศในระบบ ทำหลังการเดินท่อทองแดงระหว่างคอยล์ร้อน (Condenser) กับ คอยล์เย็น (Evaporator) เสร็จ เพื่อดูดเอาอากาศ และความชื้นออกจากระบบท่อปิดให้หมดก่อนที่จะปล่อยน้ำยาเข้าสู่ระบบ ถ้าเกิดมีอากาศอยู่ในระบบ น้ำยาก็จะเข้าไปในระบบน้อย และก็เป็นสาเหตุให้ความดันสูงผิดปกติได้ขณะทำงานเนื่องจากไนโตรเจนกับออกซิเจนในอากาศไม่สามารถแปรสภาพเป็นของเหลวในระบบ ส่วนความชื้นหรือไอน้ำที่อยู่ในระบบก็จะมีผลเสียต่อระบบทำความเย็น โดยไอน้ำนี้อาจจะไปอุดตันที่ท่อ expansion valve หรือ capillary tube ที่ใช้ในการลดความดันของน้ำยา และไฮโดรเจนจากน้ำ ก็สามารถทำปฏิกิริยากับ Cl ที่เป็นส่วนประกอบของน้ำยา ทำให้เกิดกรด HCl (Hydrochloric Acid) ซื่งสามารถกัดกร่อนท่อทางเดินน้ำยาทำให้รั่วได้ด้วยเมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่ง
เครื่องทำสุญญากาศ (Vacuum Pump) ทั่วไปที่ใช้ก็มี 2 แบบ แบบที่ 1 เครื่องแบบมาตรฐานหรือชนิดทำสุญญากาศชั้นเดียว (Single-stage Vacuum Pump) เครื่องประเภทนี้ใช้กันแพร่หลายทั่วไปเนื่องจากมีราคาถูกกว่ามาก ทำสุญญากาศได้ไม่ค่อยดีนัก วิธีที่แนะนำถ้าใช้เครื่องมือ Single-stage vacuum pump นั้นคือต้องทำสุญญากาศซ้ำถึง 3 ครั้ง โดยต้องเติมน้ำยาให้ถึง 0 psig แล้วทำสุญญากาศ ซ้ำๆ 3 ครั้ง แต่ในทางปฏิบัตินั้น คงหาช่างที่จะเสียเวลาทำสุญญากาศ 3 ครั้งยากครับ
เครื่องทำสูญญากาศแบบที่ 2 หรือที่เรียกว่าเครื่องทำสุญญากาศกำลังสูง หรือ 2-stage Vacuum Pump ซึ่งคำว่า 2-stage หรือลดความดันแบบ 2 ชั้น คือการลดความดันลงมาที่ระดับหนึ่งก่อน แล้วค่อยลดความดันลงมาต่ำที่สุดอีกทีหนึ่ง ซึ่งจะสามารถรักษาระดับความดันต่ำมากได้ดี และทำความดันได้ต่ำมาก 0.5 mmHg หรือน้อยกว่า ซึ่งในระดับความดันนี้ ไอน้ำในระบบจะเปลี่ยนสภาพเป็นไอและถูกดูดออกจากระบบได้ง่าย จึงสามารถทำสุญญากาศระบบได้ในครั้งเดียว แต่เนื่องจากราคาของเครื่องทำสุญญากาศแบบนี้มีราคาแพงระดับหมื่นบาท ท่านจึงอาจไม่ค่อยเห็นช่างแอร์ทั่วไปนำมาใช้กันครับ[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]